รับมือภาวะ เงินสดขาดมือ ตอน 2

รับมือภาวะเงินสดขาดมือแบบไม่เสียดอกเบี้ย

ต่อเนื่องจากเมื่อวานนะครับ เรื่องการรับมือกับภาวะเงินสดขาดมือ (อ่านได้ที่นี่) โดยโพสที่แล้ว เราพูดถึงการกู้ยืมเงินจากธนาคาร โดยเสียดอกเบี้ย แต่วันนี้ผมมีอีกวิธี ที่ไม่ต้องเสียดอกมานำเสนอครับ

[symple_heading type=”h2″ title=”เครดิต – ลูกค้า” margin_top=”20px;” margin_bottom=”20px” text_align=”left”]

http://comunidad.iebschool.com/

โดยทั่วๆไปแล้ว บริษัทอาจมอบเครดิตให้กับลูกค้าชั้นดี เช่น การที่ลูกค้าได้รับสินค้าหรือบริการไปก่อน แล้วจึงชำระค่าสินค้าหรือบริการนั้น ๆ ตามมาในภายหลัง ซึ่งระยะเวลานั้นก็ขึ้นอยู่กับสายสัมพันธ์อันดีระหว่างธุรกิจทั้งสองนั่นเอง การให้เครดิตลูกค้าเพื่อให้ชำระค่าสินค้าหรือบริการในภายหลังจึงถือเป็นเรื่องปกติในโลกของธุรกิจ

แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อธุรกิจของเรากำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะขาดแคลนเงินสด การให้เครดิต จึงกลายเป็นผลเสียกับเราอย่างมาก รายได้หรือกำไรในส่วนดังกล่าวนี้เองกลับไม่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดเพื่อเสริมสภาพคล่องแก่ธุรกิจได้ เราอาจจำเป็นต้องขอความร่วมมือให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าตรงตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ หรือชำระในทันที หรือในบางที หากมีความสนิทสนม คุ้นเคย หรือมีความสัมพันธ์อันดีต่อกันนั้น เราอาจขอความร่วมมือให้ลูกค้าชำระราคาค่าสินค้าหรือบริการก่อนถึงกำหนดระยะเวลาที่ตกลงกันไว้ก็ได้ โดยอาจอธิบายถึงเหตุผลเกี่ยวกับสภาพทางการเงินของธุรกิจซึ่งเรากำลังประสบปัญหาอยู่ หรือลองแนะนำข้อเสนอพิเศษ เช่น การมอบส่วนลดพิเศษในกรณีที่ชำระเงินเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปขอความช่วยเหลือจากลูกค้ารายอื่น ทางที่ดีเราควรเริ่มจากทวงถามบรรดาลูกค้าเก่าเกี่ยวกับหนี้ที่มีอยู่เสียก่อน

[symple_heading type=”h2″ title=”

เครดิต – Supplier

” margin_top=”20px;” margin_bottom=”20px” text_align=”left”]

ในทางกลับกัน การพึ่งซัพพลายเออร์อาจเป็นวิธีการหนึ่งที่อาจคลี่คลายภาวะขาดแคลนกระแสเงินสดนี้ได้ เราเองก็คงอยากจะยืดระยะเวลาชำระค่าสินค้าออกไปเพื่อที่จะได้มีเงินหมุนเพียงพอสำหรับเป็นค่าใช้จ่าย ซึ่งซัพพลายเออร์บางรายเองอาจใช้วิธีการให้เครดิตกับเราได้เช่นกัน ซึ่งเป็นวิธีการเดียวกับที่เราให้ลูกค้าชำระค่าสินค้าภายหลังจากรับสินค้าไปแล้ว อย่างไรก็ดีการสร้างและรักษาความสัมพันธ์อันดีกับซัพพลายเออร์นั้นก็เป็นปัจจัยสำคัญในการพิจารณาว่าซัพพลายเออร์เหล่านั้นจะตัดสินใจช่วยเราหรือไม่

[symple_box color=”yellow” text_align=”left” width=”100%” float=”none”]
สุดท้ายแล้ว เมื่อจำเป็นต้องทำเพื่อความอยู่รอด เราอาจจะต้องยอมขายหรือจำนำข้าวของในสำนักงานไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักร คอมพิวเตอร์ หรือ เฟอร์นิเจอร์ เพื่อแลกกับเงินสดสักก้อนสำหรับดำเนินธุรกิจและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในภาวะวิกฤติเช่นนี้ โดยอาจะเลือกสิ่งของที่ไม่มีความจำเป็นสูงนัก ซึ่งสามารถหาสิ่งอื่นมาทดแทนได้บ้าง อย่างไรก็ตามการวางแผนอนาคตและการเตรียมพร้อมที่ดีรวมถึงสายสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่นก็เป็นสิ่งที่ควรจะใส่ใจและรักษาไว้ เพราะเมื่อถึงเวลาที่เรามีปัญหา พวกเขาเหล่านั้นอาจยินดียื่นมือเข้ามาช่วยเหลือเราก็เป็นได้

[symple_testimonial by=”Andy”]หลายคนอ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คงจะเกิดความสงสัยว่า ทำไมผมถึงไม่แนะนำให้ไปหยิบยืมญาติสนิท มิตรสหาย ผมยึดถืออยู่อย่างหนึ่งนะครับว่า “หนี้ที่ใช้ไม่มีวันหมด คือหนี้บุญคุณ” ผมว่า หลีกเลี่ยงไว้ดีกว่าครับ[/symple_testimonial]
[/symple_box]

[adrotate banner="3"]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *